Nikkei 225 Index คืออะไร

Nikkei 225 Index คืออะไร

หากคุณสนใจลงทุนหุ้นบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง Sony, Toyota, Asahi หรือ Kirin แต่ไม่สะดวกลงทุนด้วยตนเอง การลงทุนผ่าน Nikkei 225 Index ดูจะเป็นทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ

Nikkei 225 Index คืออะไร คุณสามารถลงทุนผ่านช่องทางใดได้บ้าง เรามาคำตอบไปด้วยกันครับ

Nikkei 225 Index (Nikkei Stock Average) คือ

ดัชนีหุ้นแบบถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด (Price Weight) ที่วัดผลการดำเนินงานของ 225 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนบนตลาดหุ้นโตเกียวแบบเรียลไทม์ (ทุก 5 วินาที) และเป็นตัวชี้วัดสำคัญของตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ดัชนีจัดทำครั้งแรกวันที่ 7 กันยายน 2493 แต่คำนวณย้อนหลังจนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2492 ซึ่งก็คือวันที่ตลาดหุ้นโตเกียวกลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในตอนแรก ตลาดหุ้นโตเกียวเป็นผู้จัดทำดัชนี ซึ่งอยู่ในชื่อ “TSE adjusted average price” แต่เมื่อตลาดหุ้นโตเกียวจัดทำดัชนีหุ้น TOPIX ในปี 2513 หนังสือพิมพ์ Nikkei รับช่วงคำนวณและเผยแพร่ดัชนีต่อจนถึงปัจจุบัน

จุดสูงสุดตลอดกาลของดัชนีอยู่ที่ 38,957.44 จุด (วันที่ 29 ธันวาคม 2532 หรือก็คือช่วงจุดสูงสุดก่อนฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นของญี่ปุ่นจะแตก)

วิธีคำนวณ Nikkei 225 Index

Nikkei 225 Index = ผลรวมของราคาหุ้นที่ปรับแล้ว / ตัวหาร

ราคาหุ้นที่ปรับแล้ว = ราคาหุ้น x 50 (เยน) / มูลค่าพาร์ที่สันนิษฐานได้

Nikkei 225 Index ประกอบด้วยอะไรบ้าง

หมวดอุตสาหกรรมสัดส่วนถ่วงน้ำหนักจำนวนหลักทรัพย์
เทคโนโลยี47.15%58
สินค้าอุปโภคบริโภค26.79%33
วัสดุ12.71%58
สินค้าทุน/อื่น ๆ9.39%35
การขนส่งและสาธารณูปโภค2.12%20
การเงิน1.84%21
รวม100225*
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564

* ประกอบด้วย 77 บริษัทขนาดใหญ่ 126 บริษัทขนาดกลางและ 22 บริษัทขนาดเล็ก

10 อันดับแรกของดัชนี

#ชื่อบริษัทสัดส่วนถ่วงน้ำหนักหมวดอุตสาหกรรม
1Fast Retailing Co, Ltd.13.05%สินค้าอุปโภคบริโภค
2Softbank Group Corp.7.38%เทคโนโลยี
3Tokyo Electron Ltd.5.41%เทคโนโลยี
4Fanuc Corp.3.27%เทคโนโลยี
5Daikin Industries, Ltd.2.58%สินค้าทุน/อื่น ๆ
6M3 Inc.2.51%สินค้าอุปโภคบริโภค
7KDDI Corp.2.45%เทคโนโลยี
8Advantest Corp.2.18%เทคโนโลยี
9Shin-Etsu Chemical Co, Ltd.2.16%วัสดุ
10Recruit Holdings Co., Ltd1.97%สินค้าอุปโภคบริโภค
10 บริษัทแรกคิดเป็น42.96%ของดัชนี
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564

หลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์เข้าดัชนี

  1. ประเมินสภาพคล่องของหุ้นโดยใช้เกณฑ์ต่อไปนี้
  • ปริมาณการเทรดของ 5 ปีที่ผ่านมา
  • ขนาดความผันผวนของราคาหุ้นโดยวัดจากปริมาณในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ทำการคัดเลือกหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งหุ้น 450 อันดับแรก (สองเท่าของจำนวนหุ้นภายในดัชนี) จะอยู่ในกลุ่มหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง

  1. ลบ/เพิ่มหุ้นจากดัชนีโดยใช้เกณฑ์สภาพคล่อง
  • หุ้นอันดับที่ 1 ถึง 75 ที่ยังไม่อยู่ในดัชนีจะถูกบรรจุเข้าดัชนี
  1. ลบ/เพิ่มหุ้นจากดัชนีจากความสมดุลของหมวดอุตสาหกรรม

กลุ่มหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงจะถูกจัดแบ่งอยู่ในหนึ่งในหกหมวดอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้

หมวดอุตสาหกรรมประกอบด้วย
เทคโนโลยีเภสัชภัณฑ์, เครื่องกลไฟฟ้า, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องมือวัดความแม่นยำ, การสื่อสาร
การเงินการธนาคาร, บริการทางการเงินอื่น ๆ, หลักทรัพย์, การประกัน
วัสดุเหมืองแร่, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, เยื่อกระดาษและกระดาษ, เคมีภัณฑ์, ปิโตรเลียม, ยาง, แก้วและเซรามิก, เหล็ก, โลหะที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ, บริษัทซื้อมา ขายไป
สินค้าอุปโภคการประมง, อาหาร, ค้าปลีก, บริการ
สินค้าทุน/อื่น ๆการก่อสร้าง, เครื่องจักร, การต่อเรือ, การขนส่งอุปกรณ์, การผลิตอื่น ๆ, อสังหาริมทรัพย์
การขนส่ง/สาธารณูปโภครถไฟและรถเมล์, การขนส่งทางบก, การขนส่งทางน้ำ, การขนส่งทางอากาศ, คลังสินค้า, ไฟฟ้า, แก๊ส

หลังจากทำการลด/เพิ่มหุ้นโดยใช้เกณฑ์สภาพคล่องเรียบร้อยแล้ว หุ้นจะถูกลบ/เพิ่มเข้าดัชนีเพิ่มเติมหากหมวดอุตสาหกรรมใดมีจำนวนมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะประเมินจาก “ตัวเลขที่เหมาะสมของหมวดอุตสาหกรรม”

  • หากหมวดอุตสาหกรรมใดมากเกินไป หุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุดจะถูกตัดออกก่อน
  • หากหมวดอุตสาหกรรมใดน้อยเกินไป หุ้นที่ไม่ได้อยู่ในดัชนีจะถูกเพิ่มจากกลุ่มหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดจะถูกเพิ่มลงไป

ช่องทางการลงทุน

คุณสามารถลงทุนดัชนีหุ้นสำคัญจากแดนอาทิตย์อุทัยผ่านช่องทางต่อไปนี้

กองทุนรวม

รายชื่อกองทุนรวมที่ลงทุนในดัชนี Nikkei Stock Average

กองทุนรวมเงินลงทุนขั้นต่ำปันผลระดับความเสี่ยงข้อมูลกองทุน
KT-JPFUND-A1,000 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
SCBNK2251 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
SCBNK225D1 บาทมี6คลิกที่นี่
SCBRMJP1,000 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
TMPJE1 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
TMPJERMF1 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
KF-HJPINDX1,000 บาทไม่มี6คลิกที่นี่
ข้อมูล ณ วันที่ 21 มีนาคม 2564

CFD

CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) คือ สัญญาที่กำหนดให้นักลงทุนได้รับชำระเงินหรือต้องชำระเงินให้กับโบรกเกอร์ CFD เท่ากับจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาสินทรัพย์อ้างอิง (เช่น หุ้น ดัชนี ทองคำ คู่เงิน เป็นต้น) ตามที่กำหนดในสัญญากับราคาที่เป็นอยู่ ณ ตอนสิ้นสุดสัญญา

หากคุณกำลังมองหาช่องทางการลงทุนที่สามารถทำกำไรไม่ว่าดัชนีจะวิ่งขึ้นหรือดิ่งลง ใช้เงินเริ่มต้นไม่สูง (ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์ CFD) และไม่มีวันหมดอายุ (ตราบเท่าที่ไม่ถูกโบรกเกอร์บังคับปิด) CFD คือคำตอบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับคุณ

*การลงทุน CFD มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียเงินลงทุนทั้งก้อน*

**เราขอแนะนำให้ทดลองเทรด CFD ผ่านบัญชีทดลอง เพื่อดูว่าคุณเหมาะกับการเทรด CFD หรือไม่ก่อนจะลงเงินจริง**

สรุป

ดัชนีหุ้นแบบถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด (Price Weight) ที่วัดผลการดำเนินงานของ 225 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จดทะเบียนบนตลาดหุ้นโตเกียวแบบเรียลไทม์ (ทุก 5 วินาที) และเป็นตัวชี้วัดสำคัญของตลาดหุ้นญี่ปุ่น

คุณสามารถเลือกลงทุนดัชนีสำคัญจากแดนปลาดิบผ่านกองทุนรวมและ CFD ซึ่งหากคุณต้องการลงทุนผ่านกองทุนรวม คุณสามารถติดต่อธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์ตามลิงก์ที่แนบด้านล่าง แต่หากคุณสนใจลงทุนผ่าน CFD คุณจะต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ CFD เสียก่อน

คุณเลือกลงทุน Nikkei 225 Index ช่องทางไหน และเพราะอะไร บอกให้ผมทราบด้านล่าง

Leave a Comment